28 มิถุนายน 2552

ความเสี่ยงในการตรวจสอบบัญชี



วันนี้วันพฤหัสบดีที่ 25 ซึ่งเป็นวันไหว้ครูของมหาวิทยาลัย แต่พวกเราก็ยังมาเรียนตามปกติค่ะ วันนี้ทุกคนมาพร้อมหน้าพร้อมตากันตั้งแต่ยังไม่ถึง 9 โมง พร้อมที่จะเรียนกันเต็มที่เลยค่ะ เอาล่ะค่ะเรามาเข้าสู่เนื้อหาที่เรียนในวันนี้กันเลยดีกว่าค่ะ ในวันนี้เราก็เรียนเรื่องความเสี่ยงในการตรวจสอบบัญชี ซึ่งเป็นเนื้อหาต่อจากสัปดาห์ที่แล้วค่ะ

ความเสี่ยงในการตรวจสอบบัญชี ประกอบด้วยความเสี่ยงย่อย 3 ประเภท ดังนี้
1. ความเสี่ยงสืบเนื่อง (Inherent Risk: IR)
2. ความเสี่ยงจากการควบคุม (Control Risk: CR)
3. ความเสี่ยงจากการตรวจสอบ (Detection Risk: DR)
มาดูรายละเอียดกันเลยค่ะ


1. ความเสี่ยงสืบเนื่อง คือ ความเสี่ยงที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งมี 2 ระดับคือ
1.1 ความเสี่ยงสืบเนื่องระดับงบการเงิน เป็นความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับผู้บริหารและความล้าสมัยของสินค้า เช่น ถ้าผู้บริหารมีความกล้าได้กล้าเสีย ก็จะมีความเสี่ยงมาก เป็นต้น ซึ่งความเสี่ยงระดับนี้เราสามารถตรวจพบในขั้นตอนการเก็บรวบรวมข้อมูล
1.2 ความเสี่ยงสืบเนื่องระดับของยอดคงเหลือในบัญชีและประเภทรายการ เป็นความเสี่ยงของบัญชีแต่ละรายการ ซึ่งเราจะพิจารณาความเสี่ยงของบัญชีเงินสด ลูกหนี้ และสินค้าคงเหลือในงบดุล และพิจารณารายได้กับค่าใช้จ่ายในงบกำไรขาดทุน ถ้าบัญชีใดมีความเสี่ยงเชื่อมโยงมาจากระดับงบการเงินให้พิจารณาเป็นกรณีพิเศษ

2. ความเสี่ยงจากการควบคุม คือ ความเสี่ยงที่ระบบบัญชีหรือระบบควบคุมภายในไม่สามารถป้องกันได้ กล่าวคือ ถ้ามีความเสี่ยงจากการควบคุมสูง แสดงว่าระบบการควบคุมภายในไม่มีประสิทธิภาพ แต่ถ้ามีความเสี่ยงจากการควบคุมต่ำ แสดงว่า ระบบการควบคุมภายในมีประสิทธิภาพ และขอบเขตของการตรวจสอบก็จะลดลง

3. ความเสี่ยงจากการตรวจสอบ คือความเสี่ยงที่เกิดจากการตรวจสอบไม่พบ
สาเหตุที่ตรวจสอบไม่พบ
เกิดจากการสุ่มตัวอย่างในการตรวจสอบ
ใช้วิธีการตรวจสอบผิดเกิดข้อบกพร่องในการปฏิบัติงาน
เกิดข้อบกพร่องในการปฏิบัติงาน

ขั้นตอนการตรวจสอบความเสี่ยง

จากรูปภาพสามารถอธิบายได้ดังนี้ค่ะ
ในการตรวจสอบความเสี่ยงเราจะพิจารณาความเสี่ยงอยู่ 2 ประเภท คือ ความเสี่ยงสืบเนื่องและความเสี่ยงจากการควบคุม
อันดับแรกเราจะดูที่ความเสี่ยงสืบเนื่องก่อน เพราะความเสี่ยงสืบเนื่องเป็นความเสี่ยงที่มีอยู่แล้วในทุกสิ่งที่เราตรวจสอบและไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ และเมื่อเราทราบถึงความเสี่ยงสืบเนื่องแล้วเราก็จะมาดูที่ระบบการควบคุมภายในของกิจการนั้นๆ ว่ามีความเสี่ยงจากการควบคุมสูงหรือต่ำเพียงใด
- ถ้ามีความเสี่ยงจากการควบคุมสูง แสดงว่าระบบการควบคุมภายในไม่มีประสิทธิภาพ จะต้องมีการวางแผนการสอบบัญชีในลักษณะ การตรวจสอบเนื้อหาสาระ(substantive test) ในระยะเวลาหลังสิ้นงวดบัญชี(year end)และในขอบเขตการที่สูง
- ถ้ามีความเสี่ยงจากการควบคุมต่ำ แสดงว่าระบบการควบคุมภายในมีประสิทธิภาพ ให้วางแผนการสอบบัญชีในลักษณะ การทดสอบการควบคุม(test of control) แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของผู้ตรวจสอบบัญชีว่าจะยอมรับความเสี่ยงที่เกิดขึ้นได้หรือไม่ ถ้ายอมรับได้ให้ทำการตรวจสอบเนื้อหาสาระ(substantive)ในขอบเขตที่ต่ำ แต่ถ้ายอมรับไม่ได้ให้กลับไปทำการตรวจสอบเนื้อหาสาระ(substantive) ในขอบเขตที่สูง

2 ความคิดเห็น:

  1. คาบนี้เป็นคาบที่เรียนแล้วทำความเข้าใจยากจัง งง งง ยังงัยก็ไม่รู้ เห็นใจอ.จัง อธิบายตั้งหลายรอบ แต่ก็ยัง งง +555

    ตอบลบ
  2. สรุปได้ดีมากครับ..รูปก็ทำได้ดีมากครับ
    ถ้าอธิบายรูปภาพด้วย..จะสมบูรณ์มากกว่านี้นะครับ

    ตอบลบ