20 กรกฎาคม 2552

กระดาษทำการของผู้สอบบัญชี (Working paper)

ความหมาย
กระดาษทำการ หมายถึง ข้อมูลหรือเอกสารที่ใช้บันทึกหลักฐานการสอบบัญชี

วัตถุประสงค์ในการจัดทำกระดาษทำการ
- ใช้บันทึกหลักฐานการสอบบัญชี
- ใช้เป็นหลักฐานแสดงถึงมาตรฐานในการทำงานของผู้สอบบัญชี
- เพื่อเป็นแนวทางในการออกรายงาน
- ช่วยในการควบคุมดูแลสอบทานงานสอบบัญชี
- เพื่อเป็นแนวทางที่ใช้ปฏิบัติงานในปีต่อๆไป


องค์ประกอบที่ดีของกระดาษทำการ
1. หลักฐานการตรวจสอบ(เช่น รายการที่ตรวจสอบ หลักฐานที่ใช้ในการตรวจสอบ และวิธีที่ใช้ในการตรวจสอบ)
2.ลายมือชื่อผู้จัดทำ/ผู้สอบทาน พร้อมลงวันที่กับ
3.ข้อสรุปจากการตรวจสอบ
4.หัวกระดาษทำการ
5.ดัชนีกระดาษทำการ
6.ขอบเขตการตรวจสอบ

ตัวอย่างกระดาษทำการบัญชีลูกหนี้

10 กรกฎาคม 2552

แผนการสอบบัญชีโดยรวมและแนวทางการสอบบัญชี

การรวบรวมหลักฐานการสอบบัญชี Audit Evidence
สิ่งสำคัญในการทำ Audit คือ หลักฐาน คือ ข้อมูลที่ทำให้เราได้ข้อสรุปจากการตรวจสอบ ว่าถูกต้องตามที่ควรในสาระสำคัญตามหลักการบัญชีที่รับรองโดยทั่วไปหรือไม่ และออกเป็นรายงานของผู้สอบบัญชี



ความมหมายของแผนการสอบบัญชีโดยรวม
แผนกลยุทธ์ ซึ่งเป็นผลมาจากการประเมิน CR และ IR
ใช้ประโยชน์ในการจัดทำแนวการสอบบัญชี

Overall Audit Plan
ข้อควรพิจารณาในการพัฒนาแผนการสอบบัญชีโดยรวมมี 7 เรื่อง
1.ขอบเขตของงานสอบบัญชี
2.ความรู้เกี่ยวกับธุรกิจที่ตรวจสอบ
ลักษณะสำคัญของกิจการและการดำเนินธุรกิจ
ปัจจัยทางเศรษฐกิจโดยทั่วไปและสภาวะของอุตสาหกรรมที่มีต่อธุรกิจ
ผลการประกอบการทางการเงิน
ระดับความสามารถโดยทั่วไปของผู้บริหาร
3.ความเข้าใจในระบบบัญชีและ ICS
ความรู้สะสมของผู้สอบบัญชี
นโยบายการบัญชี
ผลกระทบของมาตรฐานการบัญชีและมาตรฐานการสอบบัญชีฉบับใหม่
4.ความเสี่ยงและความมีสาระสำคัญ
การประเมิน IR และ CRและกำหนดเรื่องสำคัญที่จะตรวจสอบ
ประสบการณ์จากการตรวจสอบ
ความซับซ้อนทางบัญชี
การกำหนดระดับความมีสาระสำคัญ
5.ลักษณะ ระยะเวลา และขอบเขตของวิธีการปฏิบัติงานสอบบัญชี
ลักษณะ ระยะเวลา และขอบเขตของการตรวจสอบ
การปรับเปลี่ยนเรื่องที่ตรวจสอบ
ผลกระทบของ IT
งานตรวจสอบภายใน
6.การประสานงาน การสั่งการ การควบคุมงาน และการสอบทานงาน
7.เรื่องอื่นๆ


แนวการสอบบัญชี (Audit program)
ความหมายของแนวการสอบบัญชี
กับผลการประเมิน IR และ CR กระดาษทำการซึ่งแสดงลักษณะ ระยะเวลา และขอบเขต ของวิธีการตรวจสอบ ซึ่งสอดคล้อง

ส่วนประกอบของแนวการสอบบัญชี
1.วัตถุประสงค์ของการตรวจสอบ
2.ขอบเขตการตรวจสอบ
3.เทคนิคการตรวจสอบที่ใช้
4.เวลาที่ใช้ในการตรวจสอบ
5.ดัชนีกระดาษทำการที่อ้างอิง
6.ลายมือชื่อและวันที่ตรวจสอบและสอบทาน

ประโยชน์ของแนวการสอบบัญชี
ใช้เป็นคำสั่งงานแก่ผู้ช่วยผู้สอบบัญชี
ใช้ในการควบคุมและบันทึกการปฏิบัติงาน

การจัดทำแนวการสอบบัญชี
คำนึงถึงวิธีการตรวจสอบที่เหมาะสมแก่กรณี วิธีการตรวจสอบ
1.การทดสอบการควบคุม (TC)
2.การตรวจสอบเนื้อหาสาระ (ST)