20 กรกฎาคม 2552

กระดาษทำการของผู้สอบบัญชี (Working paper)

ความหมาย
กระดาษทำการ หมายถึง ข้อมูลหรือเอกสารที่ใช้บันทึกหลักฐานการสอบบัญชี

วัตถุประสงค์ในการจัดทำกระดาษทำการ
- ใช้บันทึกหลักฐานการสอบบัญชี
- ใช้เป็นหลักฐานแสดงถึงมาตรฐานในการทำงานของผู้สอบบัญชี
- เพื่อเป็นแนวทางในการออกรายงาน
- ช่วยในการควบคุมดูแลสอบทานงานสอบบัญชี
- เพื่อเป็นแนวทางที่ใช้ปฏิบัติงานในปีต่อๆไป


องค์ประกอบที่ดีของกระดาษทำการ
1. หลักฐานการตรวจสอบ(เช่น รายการที่ตรวจสอบ หลักฐานที่ใช้ในการตรวจสอบ และวิธีที่ใช้ในการตรวจสอบ)
2.ลายมือชื่อผู้จัดทำ/ผู้สอบทาน พร้อมลงวันที่กับ
3.ข้อสรุปจากการตรวจสอบ
4.หัวกระดาษทำการ
5.ดัชนีกระดาษทำการ
6.ขอบเขตการตรวจสอบ

ตัวอย่างกระดาษทำการบัญชีลูกหนี้

10 กรกฎาคม 2552

แผนการสอบบัญชีโดยรวมและแนวทางการสอบบัญชี

การรวบรวมหลักฐานการสอบบัญชี Audit Evidence
สิ่งสำคัญในการทำ Audit คือ หลักฐาน คือ ข้อมูลที่ทำให้เราได้ข้อสรุปจากการตรวจสอบ ว่าถูกต้องตามที่ควรในสาระสำคัญตามหลักการบัญชีที่รับรองโดยทั่วไปหรือไม่ และออกเป็นรายงานของผู้สอบบัญชี



ความมหมายของแผนการสอบบัญชีโดยรวม
แผนกลยุทธ์ ซึ่งเป็นผลมาจากการประเมิน CR และ IR
ใช้ประโยชน์ในการจัดทำแนวการสอบบัญชี

Overall Audit Plan
ข้อควรพิจารณาในการพัฒนาแผนการสอบบัญชีโดยรวมมี 7 เรื่อง
1.ขอบเขตของงานสอบบัญชี
2.ความรู้เกี่ยวกับธุรกิจที่ตรวจสอบ
ลักษณะสำคัญของกิจการและการดำเนินธุรกิจ
ปัจจัยทางเศรษฐกิจโดยทั่วไปและสภาวะของอุตสาหกรรมที่มีต่อธุรกิจ
ผลการประกอบการทางการเงิน
ระดับความสามารถโดยทั่วไปของผู้บริหาร
3.ความเข้าใจในระบบบัญชีและ ICS
ความรู้สะสมของผู้สอบบัญชี
นโยบายการบัญชี
ผลกระทบของมาตรฐานการบัญชีและมาตรฐานการสอบบัญชีฉบับใหม่
4.ความเสี่ยงและความมีสาระสำคัญ
การประเมิน IR และ CRและกำหนดเรื่องสำคัญที่จะตรวจสอบ
ประสบการณ์จากการตรวจสอบ
ความซับซ้อนทางบัญชี
การกำหนดระดับความมีสาระสำคัญ
5.ลักษณะ ระยะเวลา และขอบเขตของวิธีการปฏิบัติงานสอบบัญชี
ลักษณะ ระยะเวลา และขอบเขตของการตรวจสอบ
การปรับเปลี่ยนเรื่องที่ตรวจสอบ
ผลกระทบของ IT
งานตรวจสอบภายใน
6.การประสานงาน การสั่งการ การควบคุมงาน และการสอบทานงาน
7.เรื่องอื่นๆ


แนวการสอบบัญชี (Audit program)
ความหมายของแนวการสอบบัญชี
กับผลการประเมิน IR และ CR กระดาษทำการซึ่งแสดงลักษณะ ระยะเวลา และขอบเขต ของวิธีการตรวจสอบ ซึ่งสอดคล้อง

ส่วนประกอบของแนวการสอบบัญชี
1.วัตถุประสงค์ของการตรวจสอบ
2.ขอบเขตการตรวจสอบ
3.เทคนิคการตรวจสอบที่ใช้
4.เวลาที่ใช้ในการตรวจสอบ
5.ดัชนีกระดาษทำการที่อ้างอิง
6.ลายมือชื่อและวันที่ตรวจสอบและสอบทาน

ประโยชน์ของแนวการสอบบัญชี
ใช้เป็นคำสั่งงานแก่ผู้ช่วยผู้สอบบัญชี
ใช้ในการควบคุมและบันทึกการปฏิบัติงาน

การจัดทำแนวการสอบบัญชี
คำนึงถึงวิธีการตรวจสอบที่เหมาะสมแก่กรณี วิธีการตรวจสอบ
1.การทดสอบการควบคุม (TC)
2.การตรวจสอบเนื้อหาสาระ (ST)

28 มิถุนายน 2552

ความเสี่ยงในการตรวจสอบบัญชี



วันนี้วันพฤหัสบดีที่ 25 ซึ่งเป็นวันไหว้ครูของมหาวิทยาลัย แต่พวกเราก็ยังมาเรียนตามปกติค่ะ วันนี้ทุกคนมาพร้อมหน้าพร้อมตากันตั้งแต่ยังไม่ถึง 9 โมง พร้อมที่จะเรียนกันเต็มที่เลยค่ะ เอาล่ะค่ะเรามาเข้าสู่เนื้อหาที่เรียนในวันนี้กันเลยดีกว่าค่ะ ในวันนี้เราก็เรียนเรื่องความเสี่ยงในการตรวจสอบบัญชี ซึ่งเป็นเนื้อหาต่อจากสัปดาห์ที่แล้วค่ะ

ความเสี่ยงในการตรวจสอบบัญชี ประกอบด้วยความเสี่ยงย่อย 3 ประเภท ดังนี้
1. ความเสี่ยงสืบเนื่อง (Inherent Risk: IR)
2. ความเสี่ยงจากการควบคุม (Control Risk: CR)
3. ความเสี่ยงจากการตรวจสอบ (Detection Risk: DR)
มาดูรายละเอียดกันเลยค่ะ


1. ความเสี่ยงสืบเนื่อง คือ ความเสี่ยงที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งมี 2 ระดับคือ
1.1 ความเสี่ยงสืบเนื่องระดับงบการเงิน เป็นความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับผู้บริหารและความล้าสมัยของสินค้า เช่น ถ้าผู้บริหารมีความกล้าได้กล้าเสีย ก็จะมีความเสี่ยงมาก เป็นต้น ซึ่งความเสี่ยงระดับนี้เราสามารถตรวจพบในขั้นตอนการเก็บรวบรวมข้อมูล
1.2 ความเสี่ยงสืบเนื่องระดับของยอดคงเหลือในบัญชีและประเภทรายการ เป็นความเสี่ยงของบัญชีแต่ละรายการ ซึ่งเราจะพิจารณาความเสี่ยงของบัญชีเงินสด ลูกหนี้ และสินค้าคงเหลือในงบดุล และพิจารณารายได้กับค่าใช้จ่ายในงบกำไรขาดทุน ถ้าบัญชีใดมีความเสี่ยงเชื่อมโยงมาจากระดับงบการเงินให้พิจารณาเป็นกรณีพิเศษ

2. ความเสี่ยงจากการควบคุม คือ ความเสี่ยงที่ระบบบัญชีหรือระบบควบคุมภายในไม่สามารถป้องกันได้ กล่าวคือ ถ้ามีความเสี่ยงจากการควบคุมสูง แสดงว่าระบบการควบคุมภายในไม่มีประสิทธิภาพ แต่ถ้ามีความเสี่ยงจากการควบคุมต่ำ แสดงว่า ระบบการควบคุมภายในมีประสิทธิภาพ และขอบเขตของการตรวจสอบก็จะลดลง

3. ความเสี่ยงจากการตรวจสอบ คือความเสี่ยงที่เกิดจากการตรวจสอบไม่พบ
สาเหตุที่ตรวจสอบไม่พบ
เกิดจากการสุ่มตัวอย่างในการตรวจสอบ
ใช้วิธีการตรวจสอบผิดเกิดข้อบกพร่องในการปฏิบัติงาน
เกิดข้อบกพร่องในการปฏิบัติงาน

ขั้นตอนการตรวจสอบความเสี่ยง

จากรูปภาพสามารถอธิบายได้ดังนี้ค่ะ
ในการตรวจสอบความเสี่ยงเราจะพิจารณาความเสี่ยงอยู่ 2 ประเภท คือ ความเสี่ยงสืบเนื่องและความเสี่ยงจากการควบคุม
อันดับแรกเราจะดูที่ความเสี่ยงสืบเนื่องก่อน เพราะความเสี่ยงสืบเนื่องเป็นความเสี่ยงที่มีอยู่แล้วในทุกสิ่งที่เราตรวจสอบและไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ และเมื่อเราทราบถึงความเสี่ยงสืบเนื่องแล้วเราก็จะมาดูที่ระบบการควบคุมภายในของกิจการนั้นๆ ว่ามีความเสี่ยงจากการควบคุมสูงหรือต่ำเพียงใด
- ถ้ามีความเสี่ยงจากการควบคุมสูง แสดงว่าระบบการควบคุมภายในไม่มีประสิทธิภาพ จะต้องมีการวางแผนการสอบบัญชีในลักษณะ การตรวจสอบเนื้อหาสาระ(substantive test) ในระยะเวลาหลังสิ้นงวดบัญชี(year end)และในขอบเขตการที่สูง
- ถ้ามีความเสี่ยงจากการควบคุมต่ำ แสดงว่าระบบการควบคุมภายในมีประสิทธิภาพ ให้วางแผนการสอบบัญชีในลักษณะ การทดสอบการควบคุม(test of control) แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของผู้ตรวจสอบบัญชีว่าจะยอมรับความเสี่ยงที่เกิดขึ้นได้หรือไม่ ถ้ายอมรับได้ให้ทำการตรวจสอบเนื้อหาสาระ(substantive)ในขอบเขตที่ต่ำ แต่ถ้ายอมรับไม่ได้ให้กลับไปทำการตรวจสอบเนื้อหาสาระ(substantive) ในขอบเขตที่สูง

19 มิถุนายน 2552

การวางแผนการตรวจสอบบัญชี

วันนี้เรียนวิชาการสอบบัญชีเรื่องการวางแผนการตรวจสอบ เมื่อพูดถึงการวางแผนการตรวจสอบหลายๆคน คงอาจนึกภาพว่าไม่ออกว่าเป็นอย่างไรต้องยากแน่ๆ เลย แต่ก็ยากจริงๆ นะคะ วันนี้จะมาอธิบายให้ฟังกันนะคะว่าที่จริงแล้ว การวางแผนการตรวจสอบ หมายถึง อะไรกันค่ะ


การวางแผนการตรวจสอบ
หมายถึง การกำหนดขอบเขตการทำงาน วิธีการทำงาน และระยะเวลาในการทำงานเพื่อรวบรวมข้อมูลในการสอบบัญชีเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของการตรวจสอบให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
การวางแผนทำเพื่ออะไร เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ เพื่อรายงานการดำเนินงาน

แผน มาจาก Vision นำไปสู่ขั้นตอน
1.วัตถุประสงค์ (นำไปสู่ความน่าเชื่อถือของรายงาน)
2.แผนกลยุทธ์การวางแผน ประกอบด้วย
ลักษณะ(แนวทางในการปฏิบัติ)
ระยะเวลา (ช่วงเวลา ,สถานการณ์ ,ข้อจำกัดของข้อมูล)
ขอบเขต (ขนาดตัวอย่าง)
3.แผนการปฏิบัติงาน

ระยะเวลาที่เราทำการตรวจสอบ คือ ช่วงเวลาที่เราได้งบการเงินของลูกค้า
งบการเงิน คือ รายงานข้อมูลทางการเงินที่ได้จัดทำขึ้นจากข้อมูลทางการเงินที่จดบันทึกไว้ในรอบระยะเวลาหนึ่ง


การจัดส่งงบการเงินและรายงานของบริษัทจดทะเบียน
(ควรรู้ไว้นะคะ)
1.งบการเงินรายไตรมาส ให้นำส่งต่อสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ภายใน 45 วัน นับแต่วันสิ้นสุดรอบระยะเวลาบัญชี
2.งบการเงินประจำงวดการบัญชี ให้นำส่งต่อสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ภายใน 3 เดือน นับแต่วันสิ้นสุดรอบระยะเวลาบัญชี หรือภายใน 60 วัน
3.แบบแสดงรายการเปิดเผยข้อมูลประจำปี ให้นำส่งต่อสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ภายใน 3 เดือน นับแต่วันสิ้นสุดรอบระยะเวลาบัญชี
4.รายงานประจำปี ที่เสนอต่อผู้ถือหุ้น ให้นำส่งต่อผู้ถือหุ้นทุกราย ภายใน 110 วัน นับแต่วันสิ้นสุดรอบระยะเวลาบัญชี พร้อมหนังสือนัดประชุมประจำปี


การวางแผน ประกอบด้วย
ลักษณะ ลักษณะของการตรวจสอบมี 2 แบบ คือ
1.Interim Audit เป็นการตรวจสอบระหว่างปี ตรวจสอบดูว่าระบบควบคุมภายในของกิจการนั้นเป็นอย่างไรดีหรือไม่ดี(Test of control) ซึ่งจะเลือกตรวจสอบเฉพาะรายการที่สำคัญๆ
2. Year End Audit เป็นการตรวจสอบสิ้นปี ซึ่งสามารถตรวจสอบงบการเงินของกิจการได้แล้ว (substantive test) เป็นการตรวจสอบแบบเนื้อหาสาระ สนใจเนื้อหาสาระเป็นหลัก ระบบควบคุมภายในเป็นการควบคุมข้อผิดพลาดในกิจการ
ระยะเวลา ระยะเวลาเป็นสิ่งที่สำคัญในการวางแผนเพราะว่าระยะเวลาจะเป็นตัวกำหนดว่าผู้ตรวจสอบสามารถตัดสินใจเรียงลำดับความสำคัญในการทำงานก่อนหลังได้ ซึ่งต้องอาศัยช่วงระยะเวลา สถานการณ์ และข้อจำกัดของข้อมูลที่มีอยู่
ขอบเขต ขอบเขตก็คือ กลุ่มตัวอย่าง (ขนาดของตัวอย่าง) มาทดสอบ ขนาดของตัวอย่าง จะมีมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับความเสี่ยงที่มีอยู่

ประโยชน์ของการวางแผน
1. ช่วยให้สามารถรวบรวมข้อมูลได้อย่างเพียงพอที่จะใช้ในการตัดสินใจในการดำเนินการพิจารณาต่อไป
2. ช่วยให้ประหยัดค่าใช้จ่ายและต้นทุนในการตรวจสอบ
3. ช่วยให้เกิดความร่วมมือกันระหว่างลูกค้า การประสานงานกับผู้เชี่ยวชาญด้านอื่นๆ และป้องกันการเข้าใจผิดในการทำงาน

ขั้นตอนในการวางแผนมี 7 ขั้นตอน แต่วันนี้เราจะนำเสนอ 4 ขั้นตอนก่อนนะคะ
1.พิจารณารับงาน เป็นการพิจารณาความเสี่ยง ว่าผู้ตรวจสอบบัญชียอมรับความเสี่ยงได้มากน้อยแค่ไหน จาก 2 กรณี คือ
1.1. กรณีเป็นลูกค้ารายใหม่ คือเป็นกิจการที่พึ่งเริ่มจัดตั้ง ต้องพิจารณาผู้บริหาร วัตถุประสงค์ของกิจการ ประเภทกิจการ ฐานะทางการเงิน
1.2. กรณีเป็นลูกค้ารายเก่า ต้องพิจารณาถึงความเสี่ยงและต้องพิจารณาต่อไปอีกว่า จะรับการตรวจสอบหรือไม่
ถ้าพิจารณาจะรับงานสอบบัญชีจากทั้ง 2 กรณีแล้วต้องตอบรับงานสอบ (Engagement Letter) โดยการส่งหนังสือตอบรับงานสอบบัญชี 2 ฉบับ ให้ลูกค้าเก็บไว้ 1 ฉบับ และส่งคืนมาให้ผู้ตรวจสอบ 1 ฉบับ

2.รวบรวมข้อมูล เป็นการช่วยประเมินความเสี่ยงของกิจการที่ตรวจ เพื่อให้เข้าใจในระบบบัญชี และวิธีการปฏิบัติทางบัญชีของกิจการที่ตรวจสอบ ต้องทำการเยี่ยมสถานประกอบการ (Plan Tour) ต้องพกพาความสงสัยเยี่ยงผู้ประกอบการ การอาศัยข้อมูลจากบุคลากรในกิจการนั้นๆ และการอาศัยข้อมูลจากการตรวจสอบของปีที่ผ่านมาด้วย

3.วิเคราะห์เปรียบเทียบเบื้องต้น เป็นการวิเคราะห์ดูจากสมุดบัญชีว่ามีแนวโน้มทิศทางในอนาคตเป็นอย่างไรเช่น กิจการขาดทุนมาทุกปีหรือไม่ กิจการมีกำไรมากน้อยแค่ไหน การวิเคราะห์จากงบการเงิน เป็นการดูความเสี่ยงนั้นเองค่ะ

4.กำหนดระดับสาระสำคัญ เป็นการร่วมกันกำหนดข้อตกลงระดับความไม่ถูกต้องของรายการและข้อมูลที่ผู้ตรวจสอบและทีมงานสามารถยอมรับร่วมกันได้และแสดงความเห็นต่องบการเงินนั้นตามสาระสำคัญ

เป็นอย่างไรบ้างคะอ่านแล้วพอทำความเข้าใจกันได้บ้างไหมคะ ^_^!!

16 มิถุนายน 2552

วิชาการสอบบัญชี

การสอบบัญชี Auditing การรวบรวมข้อมูลหลักฐาน เพื่อตรวจสอบฐานะทางการเงิน ผลการดำเนินงาน กระแสเงินสด ว่าถูกต้องตามสมควรในสาระสำคัญตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไปหรือไม่ และออกใบรับรองก่อนนำส่งกรมพัฒนาธุรกิจการค้า

วัตถุประสงค์ของการตรวจสอบ
1.การตรวจสอบงบการเงินมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ตรวจสอบบัญชีสามารถแสดงความเห็นต่องบการเงินว่า งบการเงินนั้นได้จัดทำในส่วนสาระสำคัญเป็นไปตามแม่บทการบัญชีในการรายงานทางการเงินหรือไม่
2.แม้ว่าความเห็นของผู้สอบจะช่วยให้งบการเงินมีความน่าเชื่อถือ แต่ผู้ใช้งบการเงินไม่สามารถถือได้ว่าความเห็นของผู้สอบบัญชีเป็นการรับรองในเรื่องความเจริญของกิจการในอนาคต รวมทั้งประสิทธิภาพหรือประสิทธิผลในการบริหารงานของผู้บริหาร

คุณสมบัติของผู้สอบบัญชี
1. Ethics มีจริยธรรม หมายถึง ความซื่อสัตย์ เที่ยงธรรม โปร่งใส ตรงต่อเวลา
2. Standard มีมาตราฐานในการปฏิบัติงาน มีความรู้ความสามารถเรื่องมาตราฐานการบัญชี
3. Skeptieism มีความสงสัยเยี่ยงผู้ประกอบการ

ฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับการสอบบัญชี
1. Auditor ผู้สอบบัญชี
2. Management ผู้บริหาร
3. User ผู้ใช้ข้อมูล

ความสัมพันธ์ของแต่ละฝ่าย
1. Auditor ให้ความเชื่อมันกับ User โดยออก Anniad Report หรือรายงานประจำปี
2. Management จัดทำบัญชีตามหลังการบัญชีที่รับรองทั่วไป

สิ่งที่ผู้บริหารให้การรับรองไว้ตามมาตราฐานการบัญชี
1. เกิดขึ้นจริง/มีอยู่จริง
2. ครบถ้วน
3. สิทธิ/ภาระผูกพัน
4. การตีราคา/การวัดมูลค่า
5. การแสดงรายการ/การเปิดเผยข้อมูล

ข้อจำกัดของการสอบบัญชี
1. ไม่ถูกต้องทั้งหมด เพราะเป็นการสุ่มตรวจ
2. ดุลยพินิจที่ไม่เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับผู้ตรวจสอบแต่ละคน
3. มีความเสี่ยงและข้อบกพร่องเสมอ

11 มิถุนายน 2552

แนะนำสมาชิกกลุ่ม04

1. นางสาวฐิติมา สิงห์จัตุรัส รหัสนักศึกษา 502365

2. นางสาวสุนิสา สุขอารมณ์ รหัสนักศึกษา 503696

3. นางสาวอภิญญา สุขสมทรง รหัสนักศึกษา 503703

4. นางสาวมะลิวรรณ ต๋าคำนวล รหัสนักศึกษา 504357

5. นางสาวจุฑามาศ นวลศรี รหัสนักศึกษา 507321